top of page

ข่าวและบทความ

วันสบาย กับ บ้านอยู่สบาย

สร้างบ้านให้สวย อยู่สบาย แต่คำนึงถึงทิศทางลม แสงแดด อุทกภัย ฟังก์ชั่นใช้งาน ไปพร้อม ๆ กัน อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก...

13738288_1239746732704942_42400693366663
13667747_1239746832704932_86241039265205
20689547_1637930789553199_95350317220617

บ้านหลังนี้ถูกออกแบบให้เสมือนเป็นบ้านพักตากอากาศ ภายใต้อากาศร้อนของเมืองไทย แต่ต้องอยู่อาศัยแบบที่เปิดแอร์น้อยที่สุดโดยไม่ร้อน จุดเด่นของบ้านนี้ คือ

  • บานหน้าต่างใหญ่ ดูโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี      

  • แสงสว่างเพียงพอเวลากลางวัน ไม่ต้องเปิดไฟ

  • ติดตั้งแผงบังแดดรอบบ้าน ป้องกันแดดและความร้อนส่องถึงตัวบ้านโดยตรง ลดอุณหภูมิในบ้าน

  • ช่องว่างระหว่างแผงบังแดด กับผนังภายนอกที่พอเพียง ช่วยให้ลมไหลเวียน ทำให้บ้านเย็น อยู่สบาย ลดการใช้แอร์

  • การจัดตำแหน่งของห้องต่าง ๆ คำนึงถึงสภาพอากาศ ในทิศของแดด และลมที่เหมาะสม

  • พื้นที่ถัดจากแผงบังแดด จะเป็นห้องน้ำ ระเบียง หรือลานซักล้าง เพื่อเป็นด่านชั้นที่สอง ที่ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ภายในบ้านจึงอยู่ได้จริงโดยไม่ต้องเปิดแอร์

  • ยกพื้นสูงขึ้น เพื่อมิติความสวยงาม ป้องกันความชื้นใต้พื้นดินที่อาจทำให้บ้านเสียหาย และป้องกันน้ำท่วม

  • ใช้โครงสร้างเหล็กและแผ่นบอร์ด ในการก่อสร้างทั้งหมด ประหยัดเวลา และค่าแรงงานในการก่อสร้าง

  • วัสดุที่ใช้ก่อสร้างทนทานต่อสภาพอากาศ ใช้งานภายนอกได้ดี และปลอดภัยจากปลวก

 

ทิศทางลม : หันหน้าบ้านไปทิศเหนือ ให้สัมพันธ์กับทิศทางลมและแสงแดด แสงแดดจะเข้าทางทิศเหนือไม่กี่เดือนต่อปี แต่ลมจะเข้าด้านหลังบ้านเกือบทั้งปี

ช่องลม : มีแผงบังแดดรอบตัวบ้าน จึงมีช่องลมระหว่างแผงบังแดดกับผนัง และมีบานหน้าต่างทั้งด้านหน้าและหลังบ้าน ทำให้มีช่องลมเข้า และช่องลมออก ให้ลมไหลเวียนเข้าบ้าน เป็นการระบายความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ

ทิศทางแดด : หันหน้าบ้าน ส่วนที่กว้างที่สุดของบ้านไปทางทิศเหนือ เพราะเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากแดดน้อยที่สุด /// ห้องนอนหลัก รับแดดยามเช้าทางทิศตะวันออก และไม่ร้อนในตอนกลางคืน /// ด้านแคบของตัวบ้าน ให้อยู่ทางทิศที่ได้รับแดดแรง หรือทิศตะวันตก /// หากมีข้อจำกัดของแปลนที่ดิน ให้ออกแบบโดยให้ห้องน้ำ ส่วนซักล้าง ที่จอดรถ แม้กระทั่งห้องครัว อยู่ด้านที่รับแดด เพื่อเป็นด่านป้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง กระทบกับผู้อยู่อาศัยน้อยที่สุด หรือ ทำชายคา และ แผงไม้บังแดด เพิ่มเติม และขาดไม่ได้ คือ ปลูกต้นไม้ สร้างความร่มรื่น เพิ่มทัศนียภาพ บรรยากาศที่ดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มลมเย็นเข้าสู่ตัวบ้าน แต่ต้องไม่บังทางลม

13717375_1239746722704943_77992657790580

ทิศตะวันตก
เป็นด้านที่ได้รับแสงแดดในช่วงบ่าย ซึ่งถือได้ว่าร้อนที่สุดของวัน แผงบังแดดในด้านนี้ จึงถูกออกแบบเพื่อป้องกันแสงแดดอย่างเต็มที่ ระยะห่างของไม้บังแดดมีขนาดเล็ก เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกให้มากที่สุด เว้นระยะห่างของแผงบังแดดกับตัวบ้าน ให้ลมพัดผ่านได้โดยรอบ เพิ่มความเย็นสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้อีกทางหนึ่ง
วัสดุที่ใช้ : ไม้บังแดด และแผ่นผนังภายนอกวีว่า บอร์ด

13723974_1239746736038275_65146602814180

ทิศตะวันออก
ด้าน “รับแสงอรุณ” ชั้นบนเป็นที่ตั้งของระเบียงภายนอกขนาดใหญ่ ชั้นล่างประกอบไปด้วยห้องอาหาร และลานซักล้างภายนอกในด้านหลัง 
แผงบังแดดยังคงถูกนำมาใช้ แต่ถูกปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะแบบ “แนวนอน” เพื่อเพิ่มความโปร่งสบายตาทั้งจากภายในและภายนอก แผงบังแดด’

วัสดุที่ใช้ :  ไม้บังแดด  ไม้ระแนง แผ่นผนังภายนอก และฝ้าเพดาน วีว่า บอร์ด

13767176_1239747592704856_36522640452469

ทิศเหนือ
เป็นทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทิศอื่น จึงให้หน้าบ้านอยู่ทางทิศเหนือ โดยเป็นด้านที่มีบานกระจกขนาดใหญ่และเปิดโล่ง มีโถงขนาดใหญ่ด้านหน้า เป็นทางเข้าบ้าน และที่ตั้งของห้องนั่งเล่น
วัสดุที่ใช้ : ฝ้าเพดานวีว่า บอร์ด, ไม้พื้น วีว่า บอร์ด และผนังภายนอกวีว่า บอร์ด

13669530_1239748062704809_39351136444665

ช่องว่างระหว่างแผงบังแดด และผนังภายนอกบ้าน เกิดเป็นช่องลม ที่ช่วยให้ลมไหลเวียน เพิ่มความเย็น อีกทั้งการปลูกต้นไม้ในช่องลมนี้ ยังช่วยให้ลมที่ไหลเวียนเป็นลมเย็นอีกด้วย


ผู้ออกแบบ : คุณ Piyaphan Thanasophon
ที่ตั้ง : โรงงานวีว่า บอร์ด จังหวัดฉะเชิงเทรา

bottom of page